โดยปกติแล้วเมื่อยื่นเอกสารให้กับสำนักงานประกันสังคม สำนักงานประกันสังคมจะพิจารณาว่ากรรมการ หรือผู้ถือหุ้น เป็น “ลูกจ้าง” หรือเป็น “นายจ้าง”
เรามาดูความหมายของ “ลูกจ้าง” หรือ “นายจ้าง” กันครับ
“ลูกจ้าง” คือ
“นายจ้าง” โดยกรรมการที่จะไม่อยู่ในข่ายการเป็นลูกจ้าง คือ
ซึ่งตามมาตรา 33 กล่าวว่า ในแต่ละเดือนนายจ้างต้องออกเงินประกันสังคมให้ 1 เท่า ของเงินที่ลูกจ้างถูกหักออก
หรือก็คือ ลูกจ้างจะถูกหักจากเงินเดือน 5% + นายจ้างจ่ายสมทบ 5% + รัฐบาลร่วมจ่ายสมทบ 2.75% นั่นเองครับ
ซึ่งหาก กรรมการบริษัท + ถือหุ้นบริษัทอย่างมีสาระสำคัญก็จะ ไม่ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำไปหักสมทบประกันสังคม
ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมแล้ว บุคคลที่เข้าข่ายเป็น “นายจ้าง” ก็ไม่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคมครับ
ส่วนในกรณีที่เคยเป็นลูกจ้าง แล้วมาเปลี่ยนเป็นนายจ้าง
ให้ทำหนังสือส่งสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่เคยส่งเงืนสมทบเพื่อไม่ขอส่งเงินสมทบ และทำแบบ สปส 6-09 แจ้งออก ซึ่งจะได้รับเงินคืนเมื่ออายุ 55 ปี เพียงบางส่วนตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนด
ตามข้อหารือของสำนักงานประกันสังคม
ได้กล่าวไว้ว่าหากกรรมการที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาก่อนปี 2550 สามารถอยู่ต่อในระบบได้โดยไม่ต้องออกจากระบบ
แต่ถ้าหากอยู่ในระบบประกันสังคมมาหลังปี 2550 ไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้
และที่จะลืมไม่ได้เลยก็คือ ถ้าไม่มีการแจ้งและออกจากระบบให้ถูกต้อง ถ้าประกันสังคมตรวจเจอ อาจจะเสียเบี้ยปรับย้อนหลังได้นะครับ
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน