views

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คืออะไร!??

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว แต่กิจการยังไม่ได้จ่ายเงิน ตัวอย่างเช่น

  1. บริษัทใช้ไฟฟ้าในเดือนธันวาคม แต่ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าเดือนธันวาคมจะถูกส่งมาให้บริษัทในเดือนมกราคม ดังนั้นในเดือนธันวาคมที่ปิดงบการเงินบริษัทจะยังไม่ได้จ่ายค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าจึงถือเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
  2. บริษัทประกาศจ่ายเงินโบนัสพนักงาน 1 เดือน สำหรับการทำงานหนักในปี 2560 แต่จะจ่ายเงินโบนัสให้ในสิ้นเดือน มกราคม 2561 ดังนั้นในเดือนธันวาคมที่ปิดงบการเงินบริษัทเงินโบนัสดังกล่าวคือเป็นค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เพราะยังไม่ได้จ่ายเงิน

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายกับการวางแผนภาษี

สรรพากรกำหนดให้ใช้เกณฑ์สิทธิ์ในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายความว่า รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดในรอบบัญชีใด ก็ให้ถือรายได้และค่าใช้จ่ายในรอบบัญชีนั้น โดยไม่ได้สนใจว่าจะได้รับเงินหรือจ่ายเงินในรอบบัญชีนั้นหรือไม่ เช่น ค่าไฟฟ้าของเดือนธันวาคม 2560 บริษัทจ่ายเงินค่าไฟฟ้าเดือน มกราคม 2561 สรรพากรจะให้ถือว่าค่าไฟฟ้าเป็นค่าใช้จ่ายของรอบปี 2560

และนอกจากนี้สรรพากรกำหนดให้นิติบุคคลจะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายให้ตรงรอบบัญชีเท่านั้น หมายความว่าในการคำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2561 เราจะเอาค่าใช้จ่ายของปี 2560 หรือ 2562 มารวมในการคำนวนภาษีไม่ได้ ดังนั้นเราจะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายค้างจ่ายให้ครบถ้วนก่อนปิดบัญชี

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายกับตกแต่งบัญชี

ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเป็นหนึ่งตัวที่ผู้ประกอบการมักจะนิยมใช้ตกแต่งบัญชี เพราะ

  • ทำได้ง่ายเพียงตั้งเป็นค่าบริการค้างจ่าย
  • แม้จะเลยวันสิ้นรอบบัญชีแล้วก็ยังบันทึกค่าใช้จ่ายเข้าไปได้ (ก็มันค่าใช้จ่ายค้างจ่าย)
  • สร้างเรื่องราวให้เกี่ยวข้องกับกิจการง่าย เช่น ค่าคอม ค่าที่ปรึกษา

หากปีนี้กำไรเยอะ ขอตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเข้าไปในงบการเงินได้มั้ย???

สรรพากรบอกว่า “รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง” ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิ

  • ตรวจ bank statement จ่ายเงินจริงมั้ย
  • บุคคลที่หามารับเงินได้ เค้าได้ยื่นภาษีบุคคลธรรมดามั้ย
  • บุคคลนั้นมีความรู้ความสามารถจริงมั้ย
  • บุคคลทำงานให้บริษัทจริงมั้ย


1 ก.พ. 2564
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ