สำหรับกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ออกใบกำกับภาษีขายทุกครั้ง เมื่อขายสินค้าและให้บริการ
ภาษีขาย ที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ใช่รายได้ของเรานะ จะต้องนำส่งคืนให้กับกรมสรรพากร
2.จัดทำรายงานภาษีซื้อ และ ภาษีขาย
รายงานภาษีซื้อ : เมื่อผู้ประกอบการได้รับใบกำกับภาษีซื้อ ต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อทุกครั้ง โดยดูได้จากใบกำกับภาษี หากมีภาษีซื้อเดือนใดไม่สามารถลงรายการได้ในเดือนนั้น เพราะมีเหตุจำเป็นให้นำมาลงรายการในเดือนถัดไป (แต่ไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่ออกใบกำกับภาษีนั้น)
รายงานภาษีขาย : เมื่อเริ่มมีการขายสินค้าหรือบริการ ต้องจัดทำรายงานภาษีขายทุกครั้ง และต้องยื่นภาษีขายให้ตรงกับเดือนที่ออกใบกำกับกับด้วย
3.จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
รายการสินค้าและวัตถุดิบที่ระบุในรายงานจะต้องสอดคล้องกับจำนวนรายการสินค้า ซื้อ-ขาย ที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี เพราะถ้ารายการไม่ตรงกันอาจจะถูกสรรพากรประเมินว่ายื่นแบบไม่ถูกต้องได้นะครับ
4.ยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับกิจการที่ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ไม่มีสิทธิเรียกเก็บVAT เวลาขายสินค้าและให้บริการ
ไม่สามารถออกใบกำกับภาษีได้ ถ้าหากออกโดยไม่มีสิทธิออก จะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 200,000 บาท
2.เมื่อซื้อสินค้าหรือบริการและได้รับใบกำกับภาษีจากร้านค้า
ตัวอย่าง ซื้อสินค้า 100 บาท ภาษีซื้อ 7 บาท สามารถบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายได้เลย 107 บาท
ที่มา
http://www.isstep.com/vat/
https://www.dharmniti.co.th
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน