1. เปลี่ยนรายได้ให้เป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
ตัวอย่างเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี
•กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ (แต่เสี่ยงขาดทุน)
•ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภท ฝากเผื่อเรียก •ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์
•เงินรางวัลที่ถูกหวย (บนดิน)
•เงินประกันที่บริษัทประกันจ่ายให้
•รายได้ที่คนอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือคนพิการได้รับให้ยกเว้นรายได้ 190,000 บาทแรก
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ar.co.th/kp/th/114
2. การเลือกใช้ประโยชน์จากเกณฑ์เงินสด
รายได้บุคคลธรรมดาสรรพากรจะใช้เกณฑ์เงินสด หมายความว่าบุคคลธรรมดาได้เงินจริงปีไหนก็ถือเป็นรายได้ปีนั้น
ตัวอย่าง : เรามีรายได้ก้อนใหญ่ 4 ล้านบาท ถ้าเรากระจายการรับเงินเป็น
2 งวด คือปี2560 จำนวน 2 ล้านบาท, ปี2561 จำนวน 2 ล้านบาท เราจะเสียภาษีน้อยกว่ารับก้อนเดียว 4 ล้านบาทในปี2560
3. เลือกเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า
ภาษีบุคคลธรรมดามีอัตราภาษีตั้งแต่ 5%-35% แต่มีรายได้บางประเภทที่เลือกเสียภาษีในอัตราที่ลดลงได้เช่น รายได้เงินปันผล กฎหมายให้สิทธิผู้มีเงินได้เลือกเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 10% หรือจะเลือกนำเงินปันผลนั้นไปรวมเงินได้ปลายปีเพื่อคำนวณภาษี
4. แตกหน่วยภาษี
บุคคลธรรมดาเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 5%-35% ยิ่งใครมีรายได้เยอะก็จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้นการแตกหน่วยภาษีออกไปจะทำให้เราเริ่มเสียภาษีในอัตราที่ต่ำที่สุดก่อน และแต่ละหน่วยภาษีต่างก็ยังมีสิทธิหักค่าลดหย่อนได้อีกด้วย เช่นแยกยื่นภาษีรายได้สามีกับภรรยา แทนการยื่นภาษีรวมกัน การจดทะเบียนคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญเพิ่ม
5. การโยนรายได้ไปให้บุคคลที่มีรายได้น้อยกว่า
เช่นการบุคคลธรรมดาปกติเสียภาษีอัตราร้อยละ 35% อยู่แล้วและมีรายได้หลายทางหนึ่งในนั้นคือรายได้ค่าเช่า บุคคลธรรมดาคนนี้สามารถวางแผนภาษีโดยการโยนรายได้ค่าเช่านี้ไปให้กับลูกซึ่งมีรายได้น้อยกว่าโดยการไปจดทะเบียนสิทธิเก็บกินจากอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าให้กับลูกเค้าที่กรมที่ดิน
6. การเปลี่ยนเงินได้เป็นสวัสดิการ
หากเรารับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน เราก็ต้องเสียภาษีแบบเต็มที่เนื่องจากเงินเดือนเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าเราเปลี่ยนรายได้เงินเดือนบางส่วนเป็นสวัสดิการ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง รถยนต์ประจำตำแหน่ง ค่าน้ำมันรถ ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งรายการสวัสดิการเหล่านี้ได้สิทธิยกเว้นภาษี เพราะถือเป็นสวัสดิการ หรือถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทได้
7. การเลือกใช้ค่าลดหย่อนให้ครบ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีที่เสีย = อัตราภาษี X เงินได้สุทธิ (เงินได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน)
จากสูตรการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะเห็นว่าเรามีค่าลดหย่อนมากเท่าไหร่ ก็จะส่งทำให้เงินได้สุทธิที่ไปคำนวนภาษีลดลงและทำให้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง
การหักค่าลดหย่อน
8. เลือกใช้ค่าใช้จ่ายตามจริงแทนอัตราเหมาจ่าย
ผู้ประกอบการที่ขายของออนไลน์ สรรพากรให้คุณสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายได้ 60% แต่ถ้าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงเกิน 60% สามารถเลือกที่จะใช้ค่าใช้จ่ายตามจริงแทนอัตราเหมาจ่ายได้
9. จัดสรรเงินได้ให้ถูกประเภท
กรมสรรพากรแบ่งรายได้ของบุคคลธรรมดาออกเป็น 8 ประเภท ซึ่งรายได้แต่ละประเภทมีอัตราการค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน ดังนั้นการรู้จักจัดสรรให้เงินได้ของเราไปอยู่ในกลุ่มอาชีพที่หักค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ย่อมช่วยประหยัดภาษีได้มาก
การหักค่าใช้จ่าย
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน