views

สรุปการคำนวณภาษีค่าเสื่อมราคารถยนต์ (เช่าซื้อ/ลีสซิ่ง)

 สรุปการคำนวณภาษีค่าเสื่อมราคารถยนต์ (เช่าซื้อ/ลีสซิ่ง)


กรณีที่บริษัทซื้อรถยนต์แบบผ่อนชำระไม่ว่าจะเป็นเช่าซื้อ หรือลีสซิ่ง ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี เราจะพบว่าค่าใช้จ่ายในทางบัญชีกับทางภาษีจะไม่เท่ากันจะต้องทำการปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษี เพื่อที่จะได้คำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง


ซึ่งในโพสนี้แอดมินได้สรุปวิธีการปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีสำหรับทางซื้อรถยนต์ทั้งแบบเช่าซื้อและลีสซิ่ง


การซื้อรถยนต์ระหว่างเช่าซื้อกับลีสซิ่ง 2 แบบนี้ต่างกันอย่างไร


1. เช่าซื้อ : อธิบายง่ายคือเมื่อผ่อนชำระหนี้ครบตามที่กำหนด ผู้ให้เช่าจะโอนกรรมสิทธิมาให้ผู้เช่าซื้อ (อัตโนมัติ)


2. ลีสซิ่ง : คือการเช่าใช้งาน (เมื่อบริษัทจ่ายค่าเช่ามีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย 5%) ต่อมาเมื่อบริษัทเช่าจนครบอายุสัญญาเราจะได้ Option ในการเลือกซื้อรถยนต์ที่ต่ำกว่าราคาตลาด ในส่วนนี้ผู้เช่าจะเลือกซื้อหรือไม่ซื้อก็ได้

┈━═☆ ถ้าผู้เช่าเลือกซื้อก็สามารถตัดค่าเสื่อมราคารถยนต์ในทางภาษีได้อีก 5 ปี ┈━═☆


จากภาพจะพบว่าการซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (รถเก๋ง, SUV) แบบลีสซิ่งจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการเลือกซื้อรถยนต์แบบเช่าซื้อ (ลีสซิ่งหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 432,000 บาทต่อปี ในขณะที่เช่าซื้อหักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 200,000 บาท) ดังนั้นบริษัทที่ซื้อรถหรูราคาแพงมักจะนิยมซื้อแบบลีสซิ่งกัน

.


 

 

 


19 ก.ค. 2567
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ