views

กรรมการให้บริษัทใช้สถานที่ ถ้าไม่คิดค่าเช่าจะมีประเด็นอะไรหรือไม่

เงินได้ตามมาตรา 40(5)(ก)
“เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์
ถ้าเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้มีเงินได้แสดงเงินได้ต่ำไป ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินได้นั้นตามจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ตามปกติ และให้ถือว่าจำนวนเงินที่ประเมินนี้เป็นเงินได้พึงประเมินของผู้มีเงินได้”

สรุป : บุคคลธรรมดาให้เช่าทรัพย์สิน ถ้าคิดค่าเช่าต่ำไป หรือไม่คิดค่าเช่า เจ้าหน้าที่มีอำนาจประเมินรายได้เพิ่ม และจะต้องไปเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

การแบ่งรายได้เงินเดือนมาเป็นรายได้ค่าเช่าจะช่วยประหยัดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

รายได้เงินเดือน โบนัส เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่กิน 100,000 บาท

  • เงินเดือน 200,000 ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000
  • เงินเดือน 500,000 ก็หักค่าใช้จ่ายได้ 100,000

รายได้ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริงและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 30% (ไม่มีเพดานสูงสุด)

ถ้าให้บริษัทเช่าจะเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเยอะหรือไม่?

กรรมการ

  • เป็นที่ดินของกรรมการ
  • ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารในชื่อของกรรมการ
  • จัดทำหนังสือยินยอมให้ที่ดินและอาคารเป็นสถานประกอบการ ของกิจการโดยไม่จำกัดระยะเวลา ให้ใช้ตราบที่ยังใช้อยู่

กิจการ

  • กิจการเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างอาคาร
  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวอาคารทั้งหมด กิจการเป็นผู้จ่าย

ภาษีซื้อ

เนื่องจากอาคารไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของกิจการ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคารไปใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขาย ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระในแบบ ภ.พ.30 ได้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา - กรรมการ

มูลค่าอาคารที่กิจการจ่ายไปต้องถือเป็นเงินได้ของกรรมการ
ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แล้วกรณีอาคารที่สร้างเป็นชื่อของบริษัทล่ะ?

>>สามารถขอคืนภาษีซื้อได้<<

*** เมื่อหมดสัญญาเช่าหรือเลิกยินยอมให้ใช้สถานที่ และในสัญญามีระบุว่าให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ให้เช่า เมื่อผู้ให้เช่าได้อาคารฟรีโดยไม่ต้องเสียเงินซื้อ
จะเข้าลักษณะเป็นเงินได้หรือประโยชน์อย่างอื่นที่บุคคลได้รับเนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำเงินได้พึงประเมินตามส่วนของแต่ละคนไปรวมคำนวณภาษีเงินได้


5 ก.พ. 2564
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ