สมมติตัวอย่างดังนี้ครับ
นาย A ขายรถยนต์ส่วนตัวคันเก่าที่ตนเองใช้อยู่ปัจจุบันออกไป เพราะต้องการจะเปลี่ยนรถยนต์ใหม่มั้ย จะคำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีอย่างไรและรายได้จากการขายรถยนต์หักค่าใช้จ่ายอย่างไร?
ภาษีเงินได้บุคคลธรมดา
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นคำตอบก็คือ “นายA ไม่ต้องเอาเงินที่ได้จากการขายมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินบุคคลธรรมดา”
เพราะเนื่องจากการขายทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว เป็นการขายสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยไม่ได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ (ตามมาตรา 42(9) แห่งประมวลรัษฎากร)
แต่!!! ถ้าเป็นการขายโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร
เงินที่ได้ขายจะเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ครับ
(โดยมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร หรือหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 60)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำตอบก็คือ “ถึงแม้นาย A จะขายเกิน 1.8 ล้าน แต่นาย A ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม”
ก็เพราะว่าบุคคลธรรมดา ขายสินค้าที่เป็นทรัพย์สินสิ่งของใช้ส่วนตัว ถ้าการขายสินค้าดังกล่าวไม่ได้ทำในเชิงธุรกิจหรือวิชาชีพ ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
อากรแสตมป์
คำตอบก็คือ “การที่นาย A ขายรถยนต์ส่วนตัวต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท/วงเงิน 200 บาท”
ซึ่งหากเราดูจากบัญชีอัตราอากรแสตมป์แล้วการขายอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาท/วงเงิน 200 บาท โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้ครับ
การขายรถยนต์
จะต้องเสียอากร (2,000,000/200)
= 2,000,000 บาท
= 10,000 บาท
ปล. ถ้าคุณทำธุรกิจเต้นท์รถก็ต้องเสียภาษีนะครับ เพราะถือว่ามุ่งค้าหรือหากำไร
- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน