views

เงินกู้ยืมกรรมการ

หลายคนถามมาว่าเงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร? วันนี้เรามาทำความรู้จักกันไปพร้อมๆกันเลยครับ

เงินกู้ยืมกรรมการแบ่งเป็น 2 ฝั่งได้ดังนี้

บริษัท กู้ยืมเงิน กรรมการ

บริษัท ให้ กรรมการกู้

วิธีแก้ไข

  1. กิจการขาดทุนจริง / เงินไม่พอใช้เพราะมีการลงทุนในช่วงเริ่มต้น >>ปล่อยทิ้งไว้ไม่ต้องทำอะไรเลย
  2. ขาดทุนจนเกินทุนจากการตกแต่งบัญชี >> เพิ่มทุนจดทะเบียน >>ภาวนาขออย่าให้โดนตรวจสอบภาษีย้อนหลัง

เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเกิดจากสาเหตุไหนบ้าง

  • จดทะเบียนบริษัท แต่ไม่มีเงินจริงตามทุนจดทะเบียน
  • จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการแต่ไม่ได้รับใบเสร็จ ทำให้ไม่มีหลักฐานมาบันทึกบัญชี
  • บริษัทประกอบธุรกิจมีกำไร เจ้าของอยากนำเงินออกมาใช้ส่วนตัว แต่ไม่อยากทำเรื่องจ่ายเงินปันผล เพราะจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10%
  • เงินหายไปจากบริษัทหรือปิดงบการเงินไม่ลงตัวและไม่สามารถหาสาเหตุไม่ได้ กรรมการรับผิดชอบไป

บัญชีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการน่ากลัวเพราะอะไร??

มาตรา 65 ทวิ (4) กรมสรรพากรบอกว่าในกรณีให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินค่าตอบแทนดอกเบี้ยนั้นให้เป็น ตามราคาตลาดในวันที่ให้กู้ยืมเงิน

สรุป : บริษัทให้กรรมการกู้ยืมเงิน จะต้องคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยจะต้องคิดในอัตราที่ OK ด้วย

ปัญหาต่อเนื่องจากการที่มีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการเยอะ

บริษัทมีเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ >> กรมสรรพากรบังคับบริษัทจะต้องคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ >> บริษัทมีรายได้ดอกเบี้ย >> มีรายได้เพิ่ม = ต้องเสียภาษีเพิ่ม

ถามว่าต้องคิดดอกเบี้ยกี่ %

“ดูที่แหล่งของเงินที่นำมาให้กู้”

  • เงินจากบริษัท >> คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
  • กู้ยืมภายนอก >> คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินที่กู้ยืมมา

5 ก.พ. 2564
by KKN การบัญชี

- ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต
- อาจารย์พิเศษให้กับสถาบันของรัฐและเอกชน


บทความที่น่าสนใจ